เมนู

มิใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน พูดจาทิ่มแทงกันและ
กันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่
เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
หมู่สัตว์นี้ขวนขวายแล้วในทิฏฐิว่า ตนและโลก
เราสร้างสรรค์ ประกอบด้วยทิฏฐิว่าตนและโลกผู้อื่น
สร้างสรรค์ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ไม่รู้จริงซึ่ง
ทิฏฐินั้นไม่ได้เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร ก็เมื่อผู้พิจาร-
ณาเห็นอยู่ซึ่งความเห็นอันวิปริตนั้น ว่าเป็นดุจลูกศร
ความเห็นว่า เราสร้างสรรค์ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น
ความเห็นว่า ผู้อื่นสร้างสรรค์ ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น
หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่อง
ร้อยรัดถูกมานะผูกพันไว้ กระทำความแข่งดีกันใน
ทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้.

จบติตถสูตรที่ 6

อรรถกถาติตถสูตร



ติตถสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล. ก็ในคำว่า อิมํ อุทานํ นี้
พึงประกอบความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึง

ความเป็นไปล่วง และความไม่เป็นไปล่วง จากสงสารตามลำดับของผู้ที่
เห็นโทษในทิฏฐิ ตัณหา และมานะ แล้วเว้นทิฏฐิเป็นต้นเหล่านั้นให้
ห่างไกล แล้วพิจารณาสังขารตามความเป็นจริง และของผู้ยึดถือผิด
เพราะไม่เห็นโทษในสังขารเหล่านั้น ไม่เห็นตามความเป็นจริง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหงฺการปสุตายํ ปชา ความว่า หมู่
สัตว์นี้ผู้ขวนขวาย คือประกอบคามอหังการ กล่าวคือ เราสร้างเองดังกล่าว
แล้วอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเราสร้างเอง ได้แก่ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนั้น
คือหมู่สัตว์ที่ยึดถือผิด. บทว่า ปรงฺการูปสํหิตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
ปรังการ เพราะอาศัยทิฏฐิว่าผู้อื่นสร้าง อันเป็นไปอย่างนี้ว่า คนอื่น ๆ
มีอิสรชนเป็นต้นสร้างทั้งหมด ได้แก่ผู้ประกอบด้วยปรังการทิฏฐินั้น.
บทว่า เอตเทเก นาพฺภญฺญํสุ ความว่า สมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งเป็น
ผู้มีปกติเห็นโทษในทิฏฐิ 2 อย่างนั้น ไม่ตามรู้ทิฏฐิ 2 อย่างนั้น. คือ
อะไร ? คือ ก็เมื่อมีการสร้างเองได้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพึงปรารถนาสร้าง
กามเท่านั้น ผู้ที่ไม่ปรารถนาไม่มี. ใครๆ จะปรารถนาทุกข์เพื่อตน และ
มีสิ่งที่ไม่ต้องการก็หาไม่ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นผู้สร้างเอง. แม้คนอื่น
สร้าง ถ้ามีอิสรชนเป็นเหตุ อิสรชนนี้นั้นก็จะสร้างเพื่อตนหรือเพื่อผู้อื่น.
ใน 2 อย่างนั้น ถ้าสร้างเพื่อตน ก็จะพึงไม่มีกิจที่ตนจะทำ เพราะจะให้
กิจที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จลง ถ้าสร้างเพื่อผู้อื่น ก็จะพึงให้สำเร็จเฉพาะ
หิตสุขแก่ชนทั้งหมดเท่านั้น สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทุกข์ก็จะไม่
สำเร็จ เพราะฉะนั้น คนอื่นสร้างจึงไม่สำเร็จ โดยอิสรชน. ก็ถ้าเหตุโดย
ไม่มุ่งผู้อื่น กล่าวคือ อิสรชนจะพึงมีเพื่อความเป็นไปเป็นนิตย์ทีเดียว. ไม่พึง
เกิดขึ้นเพราะการกระทำ คนทั้งหมดนั่นแล จะพึงเกิดขึ้นรวมกัน เพราะ

เหตุที่ตั้งไว้รวมกัน. ถ้าผู้นั้นปรารถนา เหตุมีการกระทำรวมกันแม้อย่าง
อื่น ข้อนั้นนั่นแหละเป็นเหตุ. จะประโยชน์อะไรด้วยอิสรชนผู้กำหนด
โดยความสามารถในกิจที่ยังไม่สำเร็จ. เหมือนอย่างว่า คนอื่นสร้างมีอิสร-
ชนเป็นเหตุ ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้ตนสร้างมีสัตว์ บุรุษ ปกติพรหม
และกาลเป็นต้นเป็นเหตุ ก็ไม่สำเร็จฉันนั้นเหมือนกัน เพราะชนแม้
เหล่านั้น ก็ไม่ให้สำเร็จ และเพราะจะไม่พ้นโทษตามที่กล่าวแล้ว ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอตเทเก นาพฺภญฺญํสุ. ก็ชนเหล่าใดไม่รู้ตน
เองสร้าง และผู้อื่นสร้างตามที่กล่าวแล้ว ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกที่เกิด
ขึ้นลอย ๆ ชนแม้เหล่านั้นไม่เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร คือแม้บุคคลผู้มี
วาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะยังไม่
ล่วงพ้นการยึดถือผิด จึงไม่เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร เพราะอรรถว่าเสียด
แทง โดยทำทุกข์ให้เกิดขึ้นในอัตตาและโลกนั้น ๆ. บทว่า เอตญฺจ สลฺลํ
ปฏิคจฺจ ปสฺสโต
ความว่า ก็ผู้ใดเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา พิจารณาเห็นอุปา-
ทานขันธ์ทั้ง 5 โดยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้นั้นย่อมพิจารณา
เห็นวิปริตทัสสนะ 3 อย่างนี้ และมิจฉาภินิเวสะอื่นทั้งสิ้น และอุปาทาน-
ขันธ์ทั้ง 5 อันเป็นที่อาศัยของธรรมเหล่านั้น ด้วยวิปัสสนาในเบื้องต้น
นั้นแหละว่าเป็นลูกศร เพราะทิ่มแทง และเพราะถอนได้ยาก. เมื่อพระ-
โยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ มิได้มีความคิดว่า เราสร้างโดยส่วนเท่านั้น ใน
ขณะอริยมรรค. ก็พระโยนั้นมิได้มีความคิดว่า ผู้อื่นสร้างโดยประการ
ที่ไม่ปรากฏแก่ท่านว่า ตนสร้าง. แต่จะมีเพียงปฏิจจสมุปปันนธรรม กล่าว
คือความไม่เที่ยงอย่างเดียวเท่านั้น.

ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันแสดงถึงความที่ผู้ปฏิบัติชอบไม่มี
ทิฏฐิและมานะ แม้โดยประการทั้งปวง ก็ด้วยคำนั้น เป็นอันประกาศถึง
การล่วงพ้นสงสาร ด้วยการบรรลุพระอรหัต. บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ผู้ที่
ติดอยู่ในทิฏฐิย่อมไม่อาจเงยศีรษะขึ้นจากสงสารได้ จึงตรัสคาถาว่า มานุ-
เปตา
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานุเปตา อยํ ปชา ความว่า ประชา
คือหมู่สัตว์ กล่าวคือทิฏฐิคติกบุคคลนี้ทั้งหมด เข้าถึงคือประกอบด้วยมานะ
อันมีลักษณะประคองการยึดถือของตนว่า ทิฏฐิของเรางาม การยึดถือ
ของเรางาม. บทว่า มานคณฺฐา มานวินิพฺพนฺธา ความว่า ต่อแต่นั้นแล
หมู่สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีเครื่องร้อยรัดคือมานะ มีเครื่องผูกพันคือมานะ
เพราะมานะที่เกิดขึ้นสืบ ๆ กันมานั้น ร้อยรัดและผูกพันสันดานตนไว้ โดย
ที่ตนยังไม่สละคืนทิฏฐินั้น. บทว่า ทิฏฺฐีสุ สารมฺภกถา สํสารํ นาติ-
วตฺตติ
ความว่า มีสารัมภกถาว่าด้วยการแข่งดี คือมีวิโรธกถาว่าด้วยความ
ขัดแย้งในทิฏฐิของชนเหล่าอื่น โดยการยึดถือทิฏฐิของตน ด้วยการยกตน
ข่มท่านว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อมไม่ล่วงเลย คือย่อมไม่พ้นจาก
สงสาร เพรายังประหาณอวิชชาและตัณหา อันนำสัตว์ไปสู่สงสารไม่ได้.
จบอรรถกถาติตถสูตรที่ 6

7. สุภูติสูตร



ว่าด้วยผู้กำจัดวิตกทั้งหลายไม่กลับมาสู่ชาติ



[143] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระสุภูตินั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง เข้าสมาธิอันไม่วิตกอยู่ในที่ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระสุภูติ นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง เข้าสมาธิอันไม่มีวิตกอยู่ในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดกำจัดวิตกทั้งหลายได้แล้ว กำหนดดีแล้ว
ไม่มีส่วนเหลือในภายใน ผู้นั้นล่วงกิเลสเครื่องข้อง
ได้แล้ว มีความสำคัญนิพพานอันเป็นอรูป ล่วงโยคะ
4 ได้แล้ว ย่อมไม่กลับมาสู่ชาติ.

จบสุภูมิสูตรที่ 7

อรรถกถาสุภูติสูตร



สุภูติสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุภูติ เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น
ได้สร้างอภินิหารไว้ที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุต-
ตระ ก่อสร้างบุญสมภารไว้ตลอดแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิด